ขั้นตอนการยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ยื่นแบบออนไลน์

ขั้นตอนการยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ยื่นแบบออนไลน์

ขั้นตอนการยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ยื่นแบบออนไลน์ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ประจำปี สำหรับผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี การยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีง่ายและสะดวกสำหรับยุคปัจจุบัน เราก็มีขั้นตอนและคำแนะนำมาอธิบายเพื่อความเข้าใจในการยื่นภาษีด้วยตัวเอง

แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ดูง่าย ๆ ว่าใครจะยื่นแบบไหน คือ

ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ

ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว ก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ค่ะ

ขั้นตอนการยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเอง

1. เข้าสู่เว็บไซตก์รมสรรพากรที่  www.rd.go.th  เลือก “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต”

ยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต

2. เข้าสู่หน้าจอสำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส ์เลือก “ยื่นแบบออนไลน์”

ยื่นแบบออนไลน์
ยื่นแบบออนไลน์

 

  • เลือกประเภทแบบภาษีเงินไดบุ้คคลธรรมดา “ภ.ง.ด.90/91” จากน้ันระบบจะแสดงหน้าจอรายละเอียด
  • เลือก “ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91” ระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้บันทึกหมายเลขผู้ใช ้
    [เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร / เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก] และรหัสผ่านที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร เลือก “ตกลง”
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 หน้าจอ Login
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 หน้าจอ Login

 

 

3. เข้าสู่หน้าจอแบบแสดงรายละเอียดในส่วนของข้อมูลผู้มีเงินได้ ให้ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฎว่าถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ข้อมูลผู้มีเงินได้
ข้อมูลผู้มีเงินได้

4. เลือก “ทำรายการต่อไป” ระบบจะแสดงหน้าจอข้อความแจ้งเตือนให้ตรวจสอบข้อมูลชื่อ/ชื่อสกุล/ที่อยู่ ใหถู้กต้อง เนื่องจากหากเลือกทำรายการต่อไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขรายละเอียดได้อีก

ทำรายการต่อไป
ทำรายการต่อไป

5. เมื่อคลิกแล้วจะมาที่ “หน้าหลัก” ซึ่งจะปรากฏข้อมูลของเรา (ผู้มีเงินได้) อยู่ทางซ้ายมือด้านล่าง ส่วนด้านล่างเป็นส่วน “สถานภาพของผู้มีเงินได้” กรณีเป็น “บุคคลธรรมดา” ให้เลือกระหว่าง “โสด/สมรส/หม้าย”

สถานภาพของผู้มีเงินได้
สถานภาพของผู้มีเงินได้

6. จากนั้นมาที่หน้า “เลือกเงินได้/ลดหย่อน” ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลรายการเงินได้พึงประเมินและค่าลดหย่อน

– เลือกรายการเงินไดพ้ึงประเมิน

– เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น / ค่าลดหย่อน

 

เลือกเงินได้-ค่าลดหย่อน
เลือกเงินได้-ค่าลดหย่อน

7. จากนั้นจะมาปรากฏที่หน้า “บันทึกเงินได้” ซึ่งจะให้เรากรอกข้อมูลรายละเอียดเงินได้และค่าลดหย่อนตามที่เราเลือกมาในหน้า “เลือกเงินได้/ลดหย่อน” ส่วนนี้ให้เรากรอกเงินเดือน ค่าจ้างที่เราได้รับ เช่น มาตรา 40(1) ให้เรากรอกเงินได้พึงประเมิน คือเงินที่เราได้รับจากค่าจ้างทั้งหมด พร้อมทั้งจำนวนภาษีที่บริษัทหักไป หากมีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ให้กรอกตัวเลขนั้นไป

ส่วนช่อง “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้” ให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา ซึ่งจะมีข้อมูลอยู่ในใบ 50 ทวิ

บันทึกเงินได้
บันทึกเงินได้

หากมีเงินได้นอกเหนือจากค่าจ้าง ก็จะมีช่องให้กรอกเพิ่มเติมเมื่อกดไปที่ “ทำรายการต่อไป”

8. เมื่อกรอกข้อมูลเงินได้เสร็จสรรพ จะมาที่หน้า “บันทึกค่าลดหย่อน”

ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลการลดหย่อนต่าง ๆ เช่น กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา-บุตร-คนพิการ ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของผู้ที่เราอุปการะด้วย หรือหากซื้อกองทุน, ช้อปปิ้ง, บริจาค, ไปท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม ให้กรอกจำนวนเงินที่ซื้อหรือใช้บริการลงไป เสร็จแล้วเลือก “ทำรายการต่อไป”

บันทึกค่าลดหย่อน
บันทึกค่าลดหย่อน

9. จากนั้นจะมาที่หน้า “คำนวณภาษี” ซึ่งระบบจะคำนวณให้เรียบร้อยว่าหักอะไรเท่าไร ก่อนสรุปว่าเราต้องเสียภาษีในปี 2559 เท่าไร โดยหากข้อมูลระบุว่า “ชำระเพิ่มเติม” แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินที่เราจ่ายไป แต่หากข้อมูลระบุว่า “ชำระไว้เกิน” เท่ากับเราจะได้เงินภาษีคืนกลับมา

คำนวณภาษี
คำนวณภาษี

ด้านล่างจะมีข้อความระบุ “การแสดงเจตนาบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองของผู้มีเงินได้” กรณีเราชำระภาษีไว้เกิน แล้วต้องการบริจาคให้พรรคการเมือง ให้เลือก “ประสงค์บริจาค” พร้อมเลือกพรรคการเมืองที่เราต้องการบริจาคเงินให้ แต่หากต้องการภาษีคืน ให้เลือก “ไม่ประสงค์บริจาค” แล้วเลือก “มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” จากนั้นกด “ทำรายการต่อไป”

ช่องล่างสุด หากเราเลือก “มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” ระบบจะขึ้นข้อความดังนี้

9091

กรณีที่เราผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้แล้ว กรมสรรพากรจะโอนเงินภาษีคืนให้ทางบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ ซึ่งจะทำได้รวดเร็วกว่าการส่งคืนภาษีด้วยเช็คเหมือนปีก่อน ๆ เมื่ออ่านจบแล้วให้คลิก “ปิด”

10. จากนั้นจะปรากฏหน้า “ยืนยันการยื่นแบบ” ให้เราตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นกด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้น

ยืนยันการยื่นแบบ
ยืนยันการยื่นแบบ

เมื่อกดยืนยันการยื่นแบบนั้น จากนั้นจะมาที่หน้า “ผลการยื่นแบบ” ซึ่งจะแจ้งให้เราทราบว่า ได้เงินภาษีคืนเท่าไร ยื่นแบบวันไหน กรณีต้อง “ชำระภาษีเพิ่มเติม” จะมีรายละเอียดระบุว่า สามารถชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางไหนบ้าง เช่น โอนทางธนาคารหรือ ATM และยังสามารถผ่อนจ่ายได้ด้วย ตรวจสอบข้อมูลการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ “การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?”

ผลการยื่นแบบ
ผลการยื่นแบบ

 

 

หลังจากยื่นภาษีแล้ว 3 วันทำการ สามารถสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษีได้ที่กรมสรรพากร rd.go.th ซึ่งเราไม่ควรลืมตรวจสอบ เพราะกรมสรรพากรอาจเรียกตรวจเอกสารของเราได้ กรณีนี้เราจะต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ สแกนเป็นไฟล์แล้วอัพโหลดผ่านหน้าเว็บกรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบภายในวันที่กำหนด ซึ่งเมื่อกรมสรรพากรตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการส่งเช็คคืนภาษีให้เราทางไปรษณีย์ต่อไปค่ะ และหากใครสมัครพร้อมเพย์ไว้ กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ทางบัญชีธนาคารที่เราผูกพร้อมเพย์ไว้

กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (Call Center) โทร. 1161 หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ