ช้อปช่วยชาติ 2560 หักลดหย่อนภาษี ทดลองคำนวณภาษี

ช้อปช่วยชาติ 2560 หักลดหย่อนภาษี ทดลองคำนวณภาษี

ช้อปช่วยชาติ 2560 หักลดหย่อนภาษี ทดลองคำนวณภาษี ถูกใจนักช้อปเต็ม ๆ สำหรับมาตรการช้อปช่วยชาติ 2560 กระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีรายได้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ มาหักลดหย่อนภาษี 2560 ได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยปีนี้รัฐบาลใจดีขยายเวลาให้ช้อปปิ้งได้นานกว่าเดิม ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2560 รวม 23 วัน

ช้อปช่วยชาติ 2560 หักลดหย่อนภาษี ทดลองคำนวณภาษี
ช้อปช่วยชาติ 2560 หักลดหย่อนภาษี ทดลองคำนวณภาษี

มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

– ผู้ซื้อสินค้าและบริการเป็นบุคคลธรรมดา ไม่รวมคณะบุคคล
– ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2560 ที่จะยื่นแบบในต้นปี 2561
– ซื้อสินค้าและชำระค่าบริการ ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2560
– ซื้อสินค้าและบริการในประเทศ จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) (ไม่รวมการจ่ายบริการนำเที่ยวและค่าที่พัก)
– สินค้าหรือบริการนั้นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% กรณีสินค้าหรือบริการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถนํามาหักลดหย่อนได้
– ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (รวม VAT แล้ว)
– ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากร

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วางแผนลดหย่อนภาษี

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91

1. เงินได้พึงประเมิน

2. ค่าใช้จ่าย รายการลดหย่อน และรายการเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น

 
 

    หมายเหตุ
  1. ผลการคำนวณเป็นการประมาณภาษีที่ท่านต้องชำระเบื้องต้นเท่านั้น
  2. ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้ประกอบการยื่นภาษีได้
  3. ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกรมสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ใช้หลักฐานอะไรเพื่อยื่นลดหย่อนภาษี ?

ผู้ที่ซื้อสินค้าต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากร จากร้านที่ซื้อสินค้าและบริการ โดยผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องมีการระบุข้อความดังนี้

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของร้านค้า
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ (เลขประจำตัวผู้เสียภาษี = เลขประจำตัวบัตรประชาชน)
4. หมายเลขของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดแจ้ง
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด (ถ้ามี) เช่น คำว่า เอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ