ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับการลดหย่อนภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับการลดหย่อนภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับการลดหย่อนภาษี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ทำความรู้จักเกี่ยวกับค่าลดหย่อน

ในเบื้องต้นทุกคนน่าจะทราบกันดีว่า เราต้องยื่นแบบภาษี ภงด. 91 หรือ ภงด. 90 สำหรับผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ทีนี้ลองมาดูในรายละเอียดปลีกย่อยว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่คุณสามารถหักได้บ้าง

โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้สุทธิ รายได้ต่อเดือนโดยประมาณ อัตราภาษี
0 – 150,000 ไม่เกิน 20,000 บาท ยกเว้น
150,001 – 300,000 20,001 – 32,500 บาท 5%
300,001 – 500,000 32,501 – 50,000 บาท 10%
500,001 – 750,000 50,001 – 70,000 บาท 15%
750,001 – 1,000,000 70,001 – 90,000 บาท 20%
1,000,001 – 2,000,000 90,001 – 175,000 บาท 25%
2,000,001 – 4,000,000 175,001 – 350,000 บาท 30%
ตั้งแต่ 4,000,001 ขึ้นไป มากกว่า 350,000 บาท 35%

1. ผู้มีเงินได้: หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท โดยถ้วนหน้ากัน (สำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้ทางเดียว) แม้มูลค่าจะดูกระจิ๊ดริดไปหน่อย

2. คู่สมรส: หักลดหย่อนได้อีก 30,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ หากมีรายได้ ให้หักแยกคำนวณภาษีจะดีกว่า

3. บุตร: หักได้คนละ 15,000 บาท ไม่เกิน 3 คน รวมแล้วไม่เกิน 45,000 บาท, ถ้าศึกษาภายในประเทศได้เพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท รวมแล้วเป็นคนละ 17,000 บาท

4. บิดามารดา: หักค่าลดหย่อนในการอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาที่มีอายุเกิน 60 ปี  ได้คนละ 30,000 บาท (แต่ว่าบิดาและมารดาต้องไม่มีรายได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาทขึ้นไป) ถ้าในกรณีที่ครอบครัวนั้นมีบุตรมากกว่า 1 คน และในความเป็นจริงต่างคนต่างช่วยกันดูแลบิดามารดาด้วยจำนวนเงินที่มากกว่านั้น ในทางภาษี จะมีบุตรเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถหักค่าลดหย่อนของบิดามารดาได้ อันนี้ต้องไปตกลงกันเอาเองระหว่างพี่น้องว่าจะให้โควต้าการลดหย่อนนั้นแก่ใคร

5. เบี้ยประกัน: หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และต้องเป็นการทำประกันที่มีความคุ้มครองเกิน 10 ปี สำหรับการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ผู้มีเงินได้สามารถซื้อได้เพิ่มเติมอีก 15% ของรายได้พึงประเมิน แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท หากรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกบข. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท หากเป็นการซื้อประกันสุขภาพให้กับบิดามารดา หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาทเช่นกัน

6. เงินสะสม: ส่วนใหญ่เป็นการหักลดหย่อนจากการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สามารถซื้อและหักได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และยอดรวมไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนการหักลดหย่อนจากการซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็คล้ายกันคือ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี  และยอดทั้งหมดเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกบข. จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท (สรุปว่าเงินได้อื่นๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้วไม่สามารถนำมาคำนวณได้เหมือนปีที่ผ่านมา อยากทราบว่าเงินได้ประเภทไหนบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี ตรวจสอบได้ที่นี่ครับ)

7. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม: หักลดหย่อนได้เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย (ไม่ใช่เงินต้น) โดยมูลค่าต้องไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งโดยปกติแล้วสถาบันการเงินจะเป็นผู้สรุปยอดเงินที่เราจ่ายจริงในช่วงปีที่ผ่านมา

8. ประกันสังคม: หักลดหย่อนตามจำนวนเงินที่บริษัทหรือนายจ้างหักไว้เพื่อเข้ากองทุนฯ (ไม่เกิน 9,000 บาท) อันนี้นายจ้างปกติก็จะทำสรุปมาให้ว่าระหว่างปีได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนไปแล้วเท่าไหร่

9. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา: หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว (หมายเหตุ: ในกรณีที่บริจาคให้กับสถาบันการศึกษา ให้ตรวจสอบว่าสถานที่บริจาคนั้นมีอยู่ในบัญชีรายชื่อสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดหรือไม่==> คลิ๊กตรวจสอบรายชื่อได้ที่นี่ ไม่เพียงเท่านั้นการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดหา จัดสร้างอาคาร วัสดุอุปกรณ์ และครู อาจารย์เท่านั้น==> ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับประกาศกระทรวงได้ที่นี่)

10. เงินบริจาคทั่วไป: สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว